วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

Jodhaa Akbar

Jodhaa  Akbar เป็นหนังอินเดีย

แต่พอดูแล้วชอบมากๆ ไม่เฉพาะแต่ความอลังการของฉาก  เพลงเพราะๆ แต่อินมาก นึกไปถึงว่าตั้งแต่สมัยพุทธกาล หรือสมัยก่อนนู้น เวลาที่เค้าอยู่ในวังจริงๆมันก็คงเป็นแบบนี้จริงๆด้วยเนอะ  นึกถึงตอนที่นางเอกทำอาหารไปให้พระเอกอ่ะ แล้วต้องมีบริวารล้อมรอบแล้วก็คอยร้องเพลงไปตลอดทางจนกว่าจะถึงที่อ่ะ (สงสัยว่าอาจเป็นเพลงสรรเสริญนางเอก)ดูแล้วเว่อร์ดีอ่ะ สงสัยเค้าไม่รู้ว่าจะประกาศศักดายังไงดีก็เรยร้องเพลงสรรเสริญไปตลอดทางซะงั้น  (อันนี้สันนิษฐานเอาเอง)

เวลาที่อยู่ในวังแต่งตัวเต็มตลอดอ่ะ ใส่เพชร ใส่ทองเต็มตัวเชียว เหอะๆคงรวยมาก อิจฉาเนอะชีวิตคงสบายสุดๆอยู่ในรั้วในวัง เหอ เหอ

เรานี่แบบอินมากนะถึงขนาดว่านึกรักพระเอก (พระเจ้าอักบา)มากๆถึงขนาดไปค้นประวัติมาเลยแหละว่าเป็นยังไงๆ แล้วก็อยากจะไปอินเดียจริงๆเลยนะ สิ่งที่ยังหลงเหลือตั้งแต่สมัยพระเจ้าอักบาก็คือ หลุมฝังศพพระเจ้าอักบา คือ Tomb of Akbar the Great ตั้งอยู่ที่ Sikandra ที่เมืองอัครา น่าจะอยู่ใน Fatepur Sikri  สักวันนึงจะต้องไปเยี่ยมท่านให้ได้เลย


อันนี้คือรูปจริงๆ ขององค์อักบาและโยดา ตามประวัติบอกว่าจิงๆแล้วองค์อักบามีมเหสีถึง 3 พระองค์ เป็นฮินดู เป็นมุสลิม และเป็นคริสต์ อย่างละองค์ เจ้าหญิงโยดาเป็นมเหสีองค์แรกที่เป็นฮินดูที่องค์อักบาแต่งงานด้วย แต่ต่อมาก็คงมีแต่งงานเข้ามาอีกเรื่อยๆ ตามประวัติคือ มีภรรยา 36 คน

เรื่องย่อ
“โจดา อัคบัร์ เป็นเรื่องราวความรักของจักรพรรดิ์หนุ่มมุสลิมแห่งราชวงศ์ Mughal (โมกุล) นาม Jalaluddin Mohammad Akbar กับองค์หญิงฮินดูเมือง Rajput (ราชปุต) นาม "Jodhaa Bai" ที่ต้องมาอภิเษกสมรสทางการเมือง ในขณะที่เรื่องของศาสนาซึ่งแตกต่างกัน นำมาซึ่งความขัดแย้งของสองดินแดน”
...ศตวรรษที่ 16 พระเจ้าจาลาลุดดิน โมฮัมมัด อัคบัร์แห่งราชวงศ์มุคัล (โมกุล) ทรงขึ้นครองราช พระองค์ประสงค์จะรวบรวมอินเดียเหนือเข้าไว้ด้วยกัน ภายใต้รัฐบาลเดียวจากเมืองหลวง (Delhi) ...แม้ในพระทัยจะทรงใฝ่หาความสงบสุขและประสงค์จะได้อำนาจมาด้วยสันติวิธี ทว่าสงครามกลับเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้...
...ท่ามกลางสงครามการแย่งชิงดินแดน พระราชอำนาจและชื่อเสียงของพระเจ้าจาลาลุดดินก็แผ่ขจรไกล ทำให้หลายแคว้นหลายเมืองต่างกริ่งเกรง ซึ่งแคว้น Amer ก็เป็นหนึ่งในนั้น เมื่อกษัตริย์ Bharmal แห่ง Amer ทรงพ่ายแพ้ แต่กลับไม่ถูกพระเจ้าจาลาลุดดินประหารชีวิต ทำให้ทราบซึ้งในน้ำพระทัยของกษัตริย์จาลุดลาดิน พระองค์จึงทรงคิดวิธีเชื่อมสัมพันธ์กับราชวงศ์ Mughal ด้วยการยกพระธิดาให้อภิเษกกับกษัตริย์จาลาลุดดิน เพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยของแคว้น Amer และเพื่อเป็นการปกป้องเมืองของตัวเองจากการถูกโจมตีของพระนัดดาที่หนีไปอยู่ฝ่ายเมืองของศัตรู ท่ามกลางความคัดค้านจากเมืองใกล้เคียง แต่กษัตริย์  Bharmal ก็ยังยืนกรานความคิดนี้
แน่นอนว่าทั้งสองไม่เคยพบกัน!...แม้พระธิดาโจดาจะไม่เต็มใจแต่ก็มิอาจขัดพระบัญชา ในขณะที่เดินทางไปยังเมือง Delhi พระธิดาโจดาทรงยื่นข้อเสนอต่อพระเจ้าจาลาลุดดินสองข้อ ซึ่งคิดว่าพระเจ้าจาลาลุดดินคงจะไม่ตกลง ทว่าพระองค์กลับยินยอมรับข้อเสนอนั้นเพื่อเชื่อมสัมพันธ์กับเมืองราชปุต ประการแรกคือ นางขอนับถือศาสนาฮินดูต่อไป และประการสุดท้ายคือ ขอนำเอารูปสักการะของศาสนาฮินดูมาสถิตไว้ภายในวังของนางเอง
 
...ที่สุด การอภิเษกสมรสระหว่างสองแคว้นก็เกิดขึ้น ท่ามกลางปัญหาต่างๆ มากมาย การคัดค้านทั้งทางด้านศาสนาและการเมือง...
...เรื่องราวของสองพระองค์จะเป็นเช่นไร เมื่อกษัตริย์มุสลิมทรงแต่งตั้งพระธิดาที่นับถือศาสนาฮินดูเป็นราชินี? และจะเกิดอะไรขึ้น หลังจากที่กษัตริย์จาลาลุดดินได้ประสพพบพักตร์ขององค์หญิงโจดาเป็นครั้งแรก?
 
กว่าที่พระองค์จะทรงเป็นที่ยอมรับของพษกนิกรชาวฮินดู สุดท้ายพระบารมีของกษัตริย์จาลาลุดดินก็ยิ่งแผ่ขยายจนได้รับสมญานามจากเหล่าประชากรของพระองค์ทั่วราชอาณาจักรว่า "อัคบัร์" (หมายถึงมหาราช) ด้วยทรงเข้มงวดและรัดกุมต่อการเก็บภาษีอากร ให้สิทธิฐานะของประชากรชาวฮินดูและมุสลิมอย่างเท่าเทียมกัน ให้ชาวฮินดูสามารถเข้ารับราชการในตำแหน่งสูงๆ ได้ทั้งทางด้านการทหารและพลเรือน เรียกได้ว่ายุคของพระเจ้าอัคบัร์มหาราชเป็นยุคใหม่และยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของศิปละอุตสาหกรรมและสถาปัตยกรรมโดยแท้
แต่การท้าทายที่ใหญ่หลวงของกษัตริย์แห่ง Mughal ไม่ใช่อยู่กับการชนะศึกสงครามหรือการรวบรวมดินแดน ทว่าอยู่ที่การเอาชนะพระทัยของพระชายาโจดา การต่อสู้กับความรักที่แอบซ่อนอยู่ภายใต้ความแค้นใจและอคติอย่างแรง “โจดา อัคบัร” คือเรื่องราวความรักที่ไม่เคยมีใครกล่าวถึงไว้ในหน้าประวัติศาสตร์...สุดท้ายความรักของคนทั้งคู่จึงกลายเป็นแค่ตำนาน

เอาไว้เดี๋ยวจะมาอัพประวัติพระเจ้าอักบาโดยละเอียด แล้วก็ราชวงค์โมกุลที่ยิ่งใหญ่ รวมทั้งสถานที่ท่องเที่ยวเกี่ยวกับพระเจ้าอักบามหาราชอีกที่นะจ๊ะ

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

จุดประสงค์การทำบล็อก

จุดประสงค์
เพื่อเป็นการถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ต่างๆ ไว้เก็บ อ่านคนเดียว หรือมีคนอื่นมาอ่านด้วย
แต่โดยหลักแล้วเอาไว้เก็บเรื่องราวที่ผ่านเข้ามาในหัวของตัวเอง